หลักสูตร “ การลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย (Cost Reduction) ”

หลายองค์กรมักจะคิดว่าการเอาอุปกรณ์เครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้จะเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างคุณภาพให้ดีขึ้นได้ ซึ่งถูกต้องเพียงครึ่งเดียวตรงที่สามารถเพิ่มได้เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร แต่การทำงานรวมไปถึงการผลิต ไม่ได้เกิดมาจากปัจจัยด้านเครื่องจักรเพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงนั้น ยังมีจุดบกพร่องอีกมากมาย ซึ่งญี่ปุ่นมีคำที่ช่วยให้จำได้ง่าย 3 คำ ได้แก่คำว่า Muda (มูดะ : ความสิ้นเปลือง) Mura (มูระ : ความไม่สม่ำเสมอ) และ Muri (มูริ : ความไม่สมเหตุสมผล) ทั้งสามสิ่งนี้เป็นปัญหาที่เครื่องจักรไม่สามารถแก้ไขได้ หรือได้แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

หัวข้อการอบรม

เวลา 09:00 - 12:00 น.
  • ตัวชี้วัด “ความสามารถในการแข่งขัน” ขององค์กร
    – ต้นทุน (Cost)
    – คุณภาพ (Quality)
    – การให้บริการ (Service)
    – ความเชื่อถือได้ (Dependability)
    – ความรวดเร็วฉับไว (Speed)
    – ความยืดหยุ่น (Flexibility)
  • ความหมายของคำว่า “Cost Reduction”
  • ข้อบกพร่องที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาหรือแก้ไข
    – ความสิ้นเปลือง (Muda)
    – ความไม่สม่ำเสมอ (Mura)
    – ความไม่สมเหตุสมผล (Muri)
  • คำถาม 10 ข้อ เพื่อค้นหา Muda Mura Muri
  • ปรับเปลี่ยนความเชื่อ “วัฒนธรรมองค์กร”
  • การลดต้นทุนในปัจจุบันและอดีต มีความแตกต่างกันอย่างไร ?
เวลา 13:00 - 16:00 น.
  • การตั้งคำถามเพื่อการพัฒนางานและการเพิ่มผลผลิตในการทำงาน
  • ความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Wastes)
    – ปัจจัยที่ช่วยกำจัดความสิ้นเปลืองทั้ง 7 ประการ
  • หลักการพิจารณาการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ
  • บันได 8 ขั้น ในการลดต้นทุน
    – กำหนดเป้าหมายรวมในการลดต้นทุน
    – ชำแหละเป้าหมายให้ละเอียด
    – การค้นหาปัญหาที่แท้จริง
    – วิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม
    – การกำหนดเป้าหมายในการลดต้นทุน
    – เสาะหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
    – ประเมินทางเลือก
    – จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
  • จุดคุ้มทุน (Break Even Point)
ระยะเวลาการอบรม 1 วัน (เวลา 09:00-16:00 น.)
รูปแบบการอบรม การบรรยาย กิจกรรมกลุ่ม และฝึกปฏิบัติ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม วิศวกร / หัวหน้างานทุกระดับ / ผู้จัดการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกอบรมหลักสูตรนี้

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องแนวความคิดของ Muda Mura และ Muri มากขึ้น สามารถนำแนวคิด วิธีการต่างๆ ไปปรับใช้ในองค์กร และมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในเรื่องการลดต้นทุนในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา ตามแนวคิดการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย 8 ขั้นตอน